เวียงจันทน์
เวียงจันทน์ (ลาว: ວຽງຈັນ เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว
อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ,
102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005)
แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน
ประวัติศาสตร์
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103
ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ
เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2321
เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด
อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของสยามนับตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์
กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม
สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพมหานคร
ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง
เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น
พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส
เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี
พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส
ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวจนถึงทุกวันนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในและเป็นเมืองเอกของนครหลวงเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ ดังนี้:
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | ลาว | อังกฤษ |
---|---|---|---|---|
01-01 | จันทบุรี | ຈັນທະບູລີ | Chanthabuly | |
01-02 | ศรีโคตรบอง | ສີໂຄດຕະບອງ | Sikhottabong | |
01-03 | ไชยเชษฐา | ໄຊເສດຖາ | Xaysetha | |
01-04 | ศรีสัตตนาค | ສີສັດຕະນາກ | Sisattanak | |
01-07 | หาดทรายฟอง |
เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง
ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างประเทศไทยและลาว
(ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬของไทย)
การท่องเที่ยว
เวียงจันทน์มีชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยว
ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมามากมายในแต่ละปี
เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ผสมความทันสมัยอย่างลงตัว
สถานที่สำคัญ
-ปะตูไซ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น
โดยเลียนแบบประตูชัยในฝรั่งเศส แต่ใช้ศิลปะลาว
-หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
-พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
-วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่
และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
อาหารประจำชาติของลาว คือ อาหารแนว ตำ ยำ
ปิ้งย่าง และเฝอ (ก๋วยเตี๋ยว)
โดยมีอิทธิพลอาหารผสมของแถบอินโดจีนจากจีน เวียดนาม
และอิทธิพลจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในเวียงจันทน์ จึงมีร้านอาหารพื้นเมือง
ร้านกาแฟ ร้านขนมปังเลื่องชื่ออยู่มากมาย และหลายร้านก็ขายอาหารลาว ไทย อเมริกัน
ยุโรป ปะปนกันก็มี